หัวโขน ศิลปะชั้นสูง...ครูแห่งนาฏศิลป์
“หัวโขน” เป็นงานศิลปะชั้นสูงที่มีมาแต่โบราณตั้งแต่สมัยโกสินทร์ตอนต้น ใช้สำหรับสวมครอบศีรษะ ปิดบังส่วนหน้าของผู้แสดงโขนอย่างมิดชิด ซึ่งเป็นศิลปวัตถุประเภทประณีตศิลป์ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นอย่างวิจิตรตระการตา สามารถแบ่งประเภทออกเป็น หัวโขนสำหรับใช้ในการแสดง และหัวโขนที่ใช้สำหรับเป็นของประดับตกแต่ง
“หัวโขนสำหรับใช้ในการแสดง” เป็นหัวโขนที่สร้างขึ้นด้วยกรรมวิธีแบบโบราณตามเอกลักษณ์ของหัวโขนที่ถูกต้อง โดยทำขึ้นมาเพื่อใช้ในการแสดง เพื่อสื่อถึงตัวละครนั้น ๆ เช่น พระ ยักษ์ เทวดา วานร สัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น
“หัวโขนที่ใช้สำหรับเป็นของประดับตกแต่ง” เป็นหัวโขนที่สร้างขึ้นโดยการหล่อ ปั้น ฉีด และขึ้นรูปด้วยพลาสติกหรือกรรมวิธีอื่น ๆ ซึ่งอาจมีการลงรักปิดทอง หรือประดับกระจกร่วมด้วย
ซึ่งในปัจจุบัน “หัวโขน” ไม่ได้เป็นเพียงแค่ส่วนประกอบในการแสดงโขนเพียงเท่านั้น หากแต่หัวโขนได้กลายเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า มีเสน่ห์อย่างล้ำลึก และเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นอย่างหนึ่งของประเทศไทยอีกด้วย
ค้นหาเรื่องราว
คำค้นหา
ผ้ามัดย้อม คุณค่าจากวัตถุดิบธรรมชาติสู่การสร้างสรรค์
October 02,2021
ผ้าไหมไทย ภูมิปัญญาแห่งความงดงามและความภาคภูมิใจ
October 11,2021
ถนอมอาหาร...ยืดความอร่อยด้วย “การเชื่อม”
October 11,2021
“หนังตะลุง” เปิดตำนานละครชาวบ้านจากหนังสัตว์
October 11,2021
“เบญจรงค์” เครื่องถ้วยในราชสำนัก อดีตที่สะท้อนรสนิยมชาววัง
October 11,2021
October 02,2021