หมวดหมู่
ดูล่าสุด
“หนังตะลุง” เปิดตำนานละครชาวบ้านจากหนังสัตว์


หนังตะลุง เป็นละครชาวบ้านที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นบริเวณภาคใต้ตอนกลาง เป็นความผสมผสานระหว่างการละเล่นหนังใหญ่กับหนังแบบชวา ประกอบกับวิถีพื้นบ้านของภาคใต้ ทำให้เกิดรูปแบบใหม่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ 


โดยการสมมติตัวละครขึ้นด้วยการเชิดหนังตะลุงที่ทำจากหนังวัวหรือหนังควาย ให้ตัวละครเคลื่อนไหวอวัยวะส่วนต่าง ๆ ได้ ด้วยการตัด เจาะ ร้อยอวัยวะแต่ละส่วนแล้วการโยงเชือกเข้ากับคันไม้สำหรับเชิดให้เคลื่อนไหวอย่างมีชีวิตชีวา มีวิญญาณ เปรียบเสมือนตัวละครหนังตะลุงนั้นมีชีวิต


กระทั่งได้รับความนิยมจากชาวบ้านอย่างกว้างขวางมาตั้งแต่อดีต ซึ่งลักษณะของการแสดงนั้นจะแตกต่างกันตามพื้นที่ สามารถแบ่งรูปแบบการแสดงได้ ๓ แบบ คือ หนังตะลุงตะวันออก หนังตะลุงตะวันตก และหนังตะลุงมลายู


๑. หนังตะลุงตะวันออก เป็นรูปแบบการแสดงของกลุ่มชนแถบทะเลฝั่งตะวันออก ตั้งแต่ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง และสงขลา

๒. หนังตะลุงตะวันตก เป็นรูปแบบการแสดงของกลุ่มชนแถบทะเลฝั่งอันดามัน เช่น พังงา ภูเก็ต เป็นต้น

๓. หนังตะลุงมลายู หรือวายังกูลิต เป็นศิลปะการเล่นเงาที่นิยมแสดงในบริเวณสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส




ปัจจุบันรูปหนังตะลุงเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ใช้ในการแสดงเท่านั้น แต่ยังได้รับความนิยมเป็นของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติอีกด้วย และแม้การละเล่นหนังตะลุงจะลดน้อยลงจากอดีตเป็นอย่างมาก แต่ยังคงมีชุมชนหรือกลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรมนี้ให้คงอยู่ด้วยตัวตลกหนังตะลุงที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ด้วยเสน่ห์และสีสันของหนังตะลุงทำให้เกิดเรื่องราวที่เป็นเอกลักษณ์จนผู้คนจดจำและเล่าขานต่อ ๆ กัน จนถึงปัจจุบัน

(ขอบคุณรูปภาพจาก: inspiredthailand.com)


ร้านค้าที่เกี่ยวข้อง
สินค้าที่เกี่ยวข้อง
ไปที่หน้าช้อปปิ้ง