ผ้าไหมไทย ภูมิปัญญาแห่งความงดงามและความภาคภูมิใจ
ผ้าไหมไทย เป็นมรดกอันล้ำค่าที่อยู่คู่กับสังคมไทยมานาน ความงดงามของเส้นไหม และลวดลายที่ได้จากการทอด้วยความประณีตจนกลายเป็นผ้าไหมทอมือที่คงทน สวยงาม โดดเด่น แต่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ซึ่งกว่าจะมาเป็นผ้าไหมแต่ละผืน จะต้องผ่านกระบวนการและใช้ระยะเวลาหลายเดือนให้ออกมาเป็นผืนที่อ่อนนุ่ม เป็นมัน เหนียว ยืดหยุ่นได้ดีพร้อมสำหรับนำมาใช้งาน
ปัจจุบันผ้าไหมไทยมีการผลิตขึ้นมาเกือบทั่วทุกภาค มีความหลากหลายและชนิดแตกต่างกันตามท้องถิ่น ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง สามารถแบ่งออกตามลักษณะการทอได้ ดังนี้
ผ้ามัดหมี่ เป็นผ้าทอที่ได้จากการผูกมัดให้เกิดลวดลายต่าง ๆ ด้วยความประณีต จนได้ผ้าเนื้อแน่น มันวาว พบมากเกือบทั่วทุกจังหวัดในภาคอีสาน
ผ้าจก เป็นกรรมวิธีการทอและการปักผ้าไปพร้อม ๆ กัน ให้เกิดความโดดเด่น พบมากในจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดราชบุรี
ผ้าขิด เป็นการทอผ้าไหมด้วยการเขี่ย หรือสะกิดด้ายแล้วทอตามแนวเส้นให้เกิดลวดลาย นิยมใช้เป็นผ้าสไบหรือผ้าเบี่ยง พบมาในภาคอีสาน เช่น กาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม เป็นต้น
ผ้าแพรวา เป็นผ้าทอผ้าให้เกิดลวดลายด้วยมือ มีการผสมผสานกันระหว่างลายขิดกับลายจก จนเป็นลวดลายสวยงาม นิยมใช้เป็นผ้าคลุมไหล่ พบมาในจังหวัดกาฬสินธุ์
(ขอบคุณรูปภาพจาก: kindconnext.com)
ผ้ายกดอก เป็นการทอให้เกิดลวดลายด้วยการยกตะกรอแยกด้ายเส้นยืน ทำให้เกิดสวดลายซับซ้อน พบมากในจังหวัดลำพูน
(ตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากร้านวันทนาไหมไทย)
(ตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากร้านวันทนาไหมไทย)
ในยุคที่ผ้าไทยก้าวสู่ความเป็นสากล ไม่มีการจำกัดขอบเขตของการใช้ผ้าไทย จึงมีการนำภูมิปัญญาเหล่านี้มาประยุกต์กับแฟชั่นยุคใหม่ เกิดเป็นเครื่องนุ่งห่มที่ทันสมัยสามารถใส่ได้ทุกเพศทุกวัยทั้งในชีวิตประจำวันและงานพิธีสำคัญ พร้อมถ่ายทอดเรื่องราวและความประณีตออกสู่สายตาโลก
ค้นหาเรื่องราว
คำค้นหา
ผ้าไหมไทย ภูมิปัญญาแห่งความงดงามและความภาคภูมิใจ
October 11,2021
ผ้ามัดย้อม คุณค่าจากวัตถุดิบธรรมชาติสู่การสร้างสรรค์
October 02,2021
“หนังตะลุง” เปิดตำนานละครชาวบ้านจากหนังสัตว์
October 11,2021
“เบญจรงค์” เครื่องถ้วยในราชสำนัก อดีตที่สะท้อนรสนิยมชาววัง
October 11,2021
October 02,2021
ถนอมอาหาร...ยืดความอร่อยด้วย “การเชื่อม”
October 11,2021